การส่งเงินไปประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศและยังมีค่าธรรมเนียมที่ซ่อนอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนเงินจากต่างประเทศไปที่ไทย บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจในเรื่องนี้และช่วยให้โอนเงินได้เร็วขึ้นพร้อมกับค่าธรรมเนียมที่ถูก
นอกการการโอนเงินทางธนาคารแล้วยังมีหลายทางที่สามารถส่งเงินจากต่างประเทศไปที่ประเทศไทยได้ เป็นทางเลือกที่เร็วขึ้น จ่ายค่าธรรมเนียมน้อยลง แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน ข้อมูลในบทความนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง หากกรณีของคุณแตกต่างกับผม ผมแนะนำให้สอบถามกับทางธนาคารหรือบริษัทที่คุณเลือกใช้บริการเพื่อรับทราบเงื่อนไขเสียก่อน และไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีไหนก็ย่อมมีบางอย่างที่คุณต้องใส่ใจ
ค่าธรรมเนียมการโอน
หลายบริษัทมีค่าธรรมเนียมในการโอนเงินไปต่างประเทศ เช่น ถ้าเป็นธนาคารจะมีอัตราค่าธรรมเนียมจะคงที่ ถ้าเป็นบัตรเครดิตจะเป็นอัตราร้อยละ แล้ะถ้าเป็น PayPal จะเป็นทั้งอัตราแบบคงที่และอตรร้อยละ วิธีที่ทำให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยสุดทำได้โดยการอิงกับจำนวนเงินที่คุณต้องการโอน ถ้าหากเงินที่คุณต้องการโอนนั้นมีจำนวนน้อยก็ควรเลือกแบบอัตราคงที่ แต่หากเป็นเงินจำนวนมาก การเลือกแบบอัตราร้อยละนั้นจะเหมาะกว่า
อัตราแลกเปลี่ยน
ถ้าโอนเงิน 30,000 บาทขึ้นไป ค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่จะไม่ใช่ที่คุณเห็น แต่เป็นค่าธรรมเนียมที่ซ่อนอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมในอัตราแลกเปลี่ยนเริ่มต้นที่ 0.5% และอาจจะสูงถึง 4% ถ้าเป็น USD ส่วนสกุลเงินอื่นค่าใช้จ่ายจะแพงกว่านี้ ปกติผู้ให้บริการจะไม่ได้เปิดเผยค่าธรรมเนียมนี้ ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่แท้จริง สมมุติว่าคุณโอนเงินจำนวน 150,000 บาท แปลว่าค่าธรรมเนียมอาจจะสูงถึง 6,000 บาท หากอยากทราบค่าธรรมเนียมที่แท้จริงให้ไปที่เว็บไซต์ xe.com แล้วนำอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ให้บริการที่คุณต้องการใช้มาเปรียบเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนของ xe.com จำไว้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ถ้าอยากเปรียบเทียบจะต้องทำในเวลาเดียวกัน อัตราที่แสดงในเว็บไซต์ XE จะเป็นอัตราเมื่อ 2 นาทีที่แล้ว ส่วนที่เว็บไซต์อื่นจะช้ากว่านี้ เช่น Google คือ 15 นาที และ Oanda คือ 1 วัน ถ้าหากก่อนหน้านี้ได้ทำการโอนเงินไปแล้วต้องการรู้ว่าจ่ายค่าธรรมเนียมไปเท่าไร ก็ต้องนำอัตราของวันที่ทำการโอนมาเปรียบเทียบ เรียกว่า Historical Rate
ความเร็วในการโอนเงิน
ความเร็วในการโอนเงินนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศและแต่ละวิธีการส่งเงิน เช่น การโอนเงินจากประเทศฮ่องกงไปประเทศไทยจะใช้เวลาแค่ 2-3 นาที แต่ถ้าเอาเช็คจากประเทศสหรัฐอเมริกาไปขึ้นเงินจะใช้เวลาถึง 5 สัปดาห์ มีวิธีการส่งเงินที่ทำให้ได้รับเงินทันทีแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง
วิธีการส่งเงิน
มีหลายวิธีที่สามารถส่งเงินได้ แต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในเรื่องค่าใช่จ่าย ความเร็ว ความสะดวก และในบางครั้งต้องดูให้ดีว่าผิดกฎหมายหรือไม่
การโอนเงินระหว่างประเทศ
การโอนเงินระหว่างประเทศคือสิ่งแรกที่จะนึกถึงหากต้องการส่งเงินไปประเทศไทย ธนาคารจะถามคุณว่าใครจะเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียม สามารถเลือกให้ผู้ส่งหรือผู้รับเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมได้ หรือทั้งผู้ส่งและผู้รับจ่ายค่าธรรมเนียมคนละครึ่ง นอกจากนั้นยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง
ธนาคารที่จะใช้ส่งเงิน
ในแต่ละธนาคารมีระบบค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ค่าธรรมเนียมการโอนนั้นเห็นได้ง่าย แต่ค่าในอัตราแลกเปลี่ยนนั้นไม่ชัดเจน ต้องโทรไปสอบถามธนาคารทุกแห่งเพื่อเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าส่ง 1,000,000 บาทขึ้นไป จะได้โอกาสจากการติดต่อธนาคารก่อนเพื่อถามว่าธนาคารสามารถให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่านี้ได้หรือไม่ อีกอย่างหนึ่งคือจะส่งเงินในสกุลอะไร ถ้าเป็นบาท ธนาคารที่ใช้ส่งเงินจะเป็นผู้กำหนดเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน แต่ถ้าส่งเป็นสกุลอื่น ธนาคารที่ใช้รับเงินจะเป็นฝ่ายกำหนดเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
ธนาคารที่จะใช้รับเงิน
ถ้าพูดเกี่ยวกับการรับเงินแล้วไม่ใช่ว่าทุกธนาคารจะเหมือนกัน ธนาคารทุกแห่งมีระบบค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ปัญหาก็คือ ถ้าส่งเงินในสกุลเงินอื่นนอกจากบาท จะไม่รู้ว่าจะได้อัตราแลกเปลี่ยนไหนก่อนที่เงินจะเข้าบัญชีที่ประเทสไทย เพราะว่าธนาคารที่รับเงินจะเป็นฝ่ายกำหนดว่าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนอันไหน
ปกติธนาคารกรุงเทพจะเป็นธนาคารที่ถูกใจผมที่สุดในการใช้รับเงิน เหตุผลแรกคืออัตราแลกเปลี่ยน ถ้าส่งเงินเป็นสกุล USD จะเสียแค่ 0.5% ในอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่ธนาคารอื่นเสีย 1% ขึ้นไป เหตุผลที่สองคือธนาคารกรุงเทพมีสาขาที่สหรัฐอเมริกาที่จะใช้เพื่อรับเงินได้ นั่นแปลว่าเป็นค่าโอนเงินในประเทศ ไม่ใช่ค่าโอนเงินระหว่างประเทศ
ใครควรเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียม
ผมแนะนำว่าให้ถามธนาคารว่าจะต้องจ่ายเท่าไรตอนส่งและตอนรับเงิน ปกติจะจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยที่สุดคือทางคนที่ส่งเป็นผู้จ่าย เพราะถ้าหากระบุว่าให้คนที่รับเป็นผู้จ่าย คนที่ส่งก็ยังมีส่วนที่ต้องจ่ายด้วยอีกเล็กน้อยอยู่ดี
ส่งเงินเป็นบาทหรือสกุลเงินอื่น
อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าส่งเงินมาจากประเทศอะไร ธนาคารหลายแห่งเก็บถึง 4% ของจำนวนเงินที่ลูกค้าส่ง โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ดี ถ้าส่งเงินไปประเทศไทยด้วยสกุลเงินต่างประเทศนั้นจะดีกว่า ในกรณีนี้ธนาคารที่ใช้รับเงินจะเป็นผู้แลกเปลี่ยนเงินให้เป็นบาท อันนี้ดีเพราะว่าอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารไทยโดยปกติจะดีกว่าธนาคารต่างประเทศ
การแนะนำเฉพาะประเทศ
วิธีการโอนเงินที่ถูกมากที่สุดขึ้นอยู่กับว่าเงินมาจากประเทศอะไร ธนาคารกรุงเทพมีสาขาในบางประเทศ การส่งเงินจากต่างประเทศนั้นธนาคารกรุงเทพมีบริการที่ดีมาก คุณสามารถใช้ Routing Code ของธนาคารกรุงเทพสาขาต่างประเทศได้ หมายถึงว่าการโอนเงินนั้นจะไม่ใช่การโอนเงินจากต่างประเทศ แต่เป็นการโอนเงินในประเทศ ซึ่งทำให้คุณจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยลงและได้อัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ดีด้วย ทุกคนที่มีบัญชีธนาคารกรุงเทพสามารถทำแบบนี้ได้โดยไม่ต้องสมัครอะไรเพิ่มอีก
- การส่งเงินจากประเทศเยอรมนี
อิงจากประสบการณ์ของผมถ้าอยากส่งเงินเป็นสกุลเงินบาท ธนาคารที่เรียกว่า Volksbanken และ Raiffeisenbanken มีค่าธรรมเนียมที่ 1.7% ซ่อนอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคาร Sparkassen ค่าธรรมเนียมคือ 2.1% ซึ่งทั้งสองอัตรานั้นแพงกว่าธนาคารของไทย นั่นหมายความว่าถ้าส่งเงินจากประเทศเยอรมนีต้องส่งเป็นสกุลเงิน EUR แต่วิธีการส่งเงินจากประเทศเยอรมนีไปประเทศไทยที่ค่าใช้จ่ายถูกที่สุดไม่ใช่การโอนเงิน นั่นคือบริการของบริษัท Xendpay ที่มีค่าธรรมเนียมในอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 0.5% สำหรับการส่งเงินสองครั้งแรกและไม่มีค่าธรรมเนียมอื่น
- การส่งเงินจากประเทศฮ่องกง
ผมไม่เคยเจอวิธีการส่งเงินจากประเทศฮ่องกงที่ค่าใช้จ่ายถูก แต่สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือการโอนเงินจากฮ่องกงนั้นรวดเร็วมาก บ่อยครั้งที่ใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที เช่น ถ้าจะส่งเงินจากธนาคาร HSBC ปกติจะได้รับในทันที
- การส่งเงินจากประเทศอิสราเอล
ถ้าใช้บริการของไปรษณีย์อิสราเอล คนที่ส่งแค่ต้องจ่าย 8 USD และคนที่รับต้องจ่ายแค่ 70 บาท ถ้าใช้บัญชีธนาคารกรุงเทพ แต่ถ้าไม่มีบัญชีธนาคารกรุงเทพต้องจ่าย 170 บาท
- การส่งเงินจากประเทศญี่ปุ่น
ธนาคารกรุงเทพมีสาขาที่โตเกียวและโอซาก้า เวลาที่ลูกค้าต้องการส่งเงินจากประเทศญี่ปุ่นไปประเทศไทย ก็จะใช้ค่าธรรมเนียมของการโอนเงินในประเทศ
- การส่งเงินจากประเทศเกาหลี
ธนาคารกรุงเทพร่วมมือกับไปรษณีย์เกาหลีเพื่อเสนอบริการส่งเงิน คนส่งเงินต้องจ่าย 8,000 วอน และคนที่รับต้องจ่าย 200 บาท ค่าธรรมเนียมที่ซ่อนอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนคือ 0.5%
- การส่งเงินจากประเทศอังกฤษ
ธนาคารกรุงเทพมีสาขาที่เมืองลอนดอน สามารถใช้ Routing Code ของสาขานั้นเพื่อส่งเงินแบบราคาถูกได้ สามารถอ่านวิธีการทำได้ที่เว็บไซต์นี้
- การส่งเงินจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ถ้าคนที่รับเงินที่ประเทศไทยเป็นลูกค้าธนาคารกรุงเทพ มีวิธีการส่งเงินที่ถูกมากโดยตอนรับเงินจะไม่ใช้รายละเอียดธนาคารกรุงเทพสาขาของลูกค้าที่ประเทศไทย แต่จะใช้ Routing Code สาขาที่นิวยอร์กกับเลขที่บัญชีของลูกค้าที่ประเทศไทย ในกรณีนี้อัตราค่าธรรมเนียมส่งเงินไม่ใช่อัตราส่งเงินต่างประเทศ แต่เป็นอัตราส่งเงินในประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นอัตราของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งดีเพราะอัตราของธนาคารที่กรุงเทพถูกกว่าธนาคารอื่น และวิธีการนี้ใช้ได้ด้วยเช่นกันเมื่อต้องการรับเงินจากบริษัทโดยแค่ส่งเงินไปบัญชีที่สหรัฐอเมริกา
- การส่งเงินจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เมื่อส่งเงินโดยไปรษณียืสวิสเซอร์แลนด์ ค่าธรรมเนียมคือ CHF 2 คนที่รับเงินต้องจ่ายอีก 200 หรือ 250 บาท โดยขึ้นอยู่กับว่ามีบัญชีธนาคารกรุงเทพหรือไม่
- การส่งเงินจากประเทศอื่นๆ
ทีหลายทางที่จะส่งเงินได้ ปกติช่องทางที่จ่ายถูกมากที่สุดคือเว็บไซต์ Moneytis.com แต่ถ้าพูดเกี่ยวกับการโอนเงินเพียงอย่างเดียว ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารที่จ่ายถูกมากที่สุด
เช็คที่สั่งจ่ายเป็นเงินต่างประเทศ
ถ้าคุณมีบัญชีธนาคารต่างประเทศที่ไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี ไม่ได้หมายความว่าต้องเปลี่ยนธนาคาร ถ้าไม่โอนเงินแต่แค่ส่งเช็คที่สั่งจ่าย เช่น เป็นเช็ค USD หมายถึงว่าธนาคารที่รับเงินที่ประเทศไทยรับเป็น USD และเป็นธนาคารไทยที่แลกเปลี่ยน USD เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารไทยเอง
บริษัทที่แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Forex)
มีหลายบริษัทที่มีบริการส่งเงินไปต่างประเทศ บริการนนั้นเรียกว่า Fx International Payments หรือ Forex Transfers ถ้าใช้ช่องทางนี้จะได้อัตราแลกเปลี่ยนจากบริษัทก่อนจะส่งเงิน หลังจากยืนยันแล้วต้องส่งเงินไปบัญชีที่ประเทศของคุณ ขั้นต่อไปบริษัทจะส่งเงินไปบัญชีของลุกค้าที่จะรับเงินโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ระบุไว้แล้ว
TransferWise
TransferWise เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่มีบริการนี้ ค่าธรรมเนียมของ TransferWise คือ 1% ถึง 1.5% ไม่มีค่าธรรมเนียมคงที่ ซึ่งถูกมากหากส่งเงินน้อยกว่า 2,000 USD สมมุติว่าคุณได้เงินทุกเดือน ช่องทางนี้เป็นวิธีที่ถูกมากที่สุด ข้อเสียของ TransferWise ก็คือใช้เวลานานมาก ประมาณ 10 วัน นี่จึงไม่ใช่ช่องที่เหมาะหากต้องรีบส่งเงิน แต่เหมาะจะใช้เมื่อคุณรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องส่งจำนวนเท่าไรและเมื่อไร แต่ถ้าส่งเงินจำนวนมากกว่า 3,000 USD อาจจะดีกว่าถ้าใช้ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารมีค่าธรรมเนียมคงที่แต่อัตราค่าธรรมเนียมส่ง USD นั้นดีกว่า แต่หากคุณส่งเงินเป็น EUR ค่าธรรมเนียมเกือบจะเท่ากันเพราะว่าอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารไม่ดีเหมือนแบบ USD
บทความนี้ผมเคยเผยแพร่ที่ expatden.com
*ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านเรื่องเงิน บทความด้านบนเขียนขึ้นโดยความเข้าใจและจากประสบการณ์ของตัวผมเอง ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมแนะนำให้ติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจะดีกว่า